รองผู้ว่าฯ ปทุมธานี แถลงข่าวผลการดำเนินงาน โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตร อย่างยั่งยืน จังหวัดปทุมธานี (ชมคลิปคลิกเลย)

รองผู้ว่าฯ ปทุมธานี แถลงข่าวผลการดำเนินงาน โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตร อย่างยั่งยืน จังหวัดปทุมธานี

วันที่11 ตุลาคม 2560 เวลา 09.00 น. ที่ อาคารศาลารักษ์ปทุม ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายผล ดำธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานในการแถลงข่าวผลการดำเนินงาน โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตร อย่างยั่งยืน จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายวรยุทธ บุญมี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี นายสมเดช คงกะพันธุ์ เกษตรจังหวัดปทุมธานี นายเล็ก พวงต้น ประธานเครือข่าย ศพก.จังหวัดปทุมธานี ร่วมแถลงข่าว

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นศูนย์หลัก อำเภอละ 1 ศูนย์ รวมทั่วประเทศ จำนวน 882 ศูนย์ และขยายผลในรูปแบบศูนย์เครือข่าย ศพก. อีก 8,219 แห่ง ( 1 : 10 ) โดยจังหวัดปทุมธานี มี ศพก.หลัก 7 ศูนย์เครือข่าย ศพก. 108 ศูนย์ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้และการให้บริการด้านการเกษตรในระดับชุมชน เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามเทคนิคต่าง ๆและการใช้เทคโนโลยี โดยใช้องค์ความรู้ของเกษตรกรต้นแบบร่วมกับองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากหน่วยงานด้านวิชาการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกร เป็นแหล่งให้บริการด้านการเกษตร ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรที่ทันสมัยจากทุกหน่วยงานที่จะเข้ามาสนับสนุนตามความต้องการของเกษตรกรและชุมชน ทั้งนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรม ศพก. และเครือข่าย ศพก. ทั้งระดับอำเภอ จังหวัด เขต และระดับประเทศ เพื่อขับเคลื่อนงานและบริหารจัดการ

สำหรับคำว่า 9101 (เก้าหนึ่งศูนย์หนึ่ง) ความหมายมาจาก เลข 9 คือ รัชกาลที่ 9 เลข 10 คือ รัชกาลที่ 10 คือในหลวงรัชกาลปัจจุบัน และ เลข 1 ก็คือ เป็นปีแรก ที่ขึ้นครองราช ในรัชกาลปัจจุบัน โดยมีหลักการที่สำคัญของโครงการคือ น้อมนำหลักการ ทฤษฎีและแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานไว้มาปฏิบัติ ในการจัดทำโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ คือ น้อมนำหลักการ ทฤษฎี และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลเดชฯ ได้พระราชทานไว้ เป็นการปฏิรูปภาคการเกษตรให้เกิดผลสำเร็จ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและดำเนินโครงการ ใช้ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. เป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรของชุมชน และกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตร เพื่อให้ ศพก. และเครือข่าย เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาภาคการเกษตรของชุมชนมีส่วนร่วมแบบประชารัฐอย่างยั่งยืน

ภาพ/ข่าว ขวัญชัย วาจาพารวย รายงาน

Related posts