สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ “ตอบสนองนโยบายชาติตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เร่งสร้างเสริมปลูกจิตสำนึกคนไทยทุกภาคส่วนผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยี 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม” (ชมคลิป)

สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ “ตอบสนองนโยบายชาติตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เร่งสร้างเสริมปลูกจิตสำนึกคนไทยทุกภาคส่วนผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยี 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม”

 

 

เร่งเดินหน้าสนับสนุนสร้างจิตสำนึกให้คนไทยใน ทุกภาคส่วนให้มุ่งผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยี4.0 ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม” นายนนทวัตต์ สาระมาน นายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ (Cyber Innovation Promotion Association of Technology) หรือ (CIPAT)และผู้ร่วมก่อตั้ง SRAN Technology ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายในงาน“วิศวกรรมแห่งชาติ 2561” จัดขึ้นระหว่างวันที่1-3 พฤศจิกายน 2561 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี การบรรยายพิเศษเมื่อวันเสาร์ที่ 3 พ.ย.61 เวลา 12.30-13.30น. ในหัวข้อเรื่อง “ปิดรูรั่วสงครามข้อมูลดิจิตอลในอุตสาหกรรม 4.0”

 


หลังจากการบรยายเสร็จสิ้นแล้วจากนั้นทีมข่าวสื่อมวลชลช่อง 5 ได้ขอสัมภาษณ์นายกสมาคมฯ ซึ่งได้ให้การสัมภาษณ์ในหัวข้อ เรื่องที่สอดคล้องกับหัวข้อการบรรยายคือ “การสร้างชาติด้วยดิจิทัลให้คนไทยเป็นหนึ่งเดียว” ถึงเวลาแล้วที่ควรเร่งส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมโดยเกิดจากสร้างเสริมสนับสนุนให้คนไทยด้วยการ ปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทุกภาคส่วน เพราะการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคปัจจุบันมีการผูกขาดทางด้านข้อมูล Big data ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่ได้อยู่ในประเทศเราเลย เช่นเรามีปัญหาในด้านการเก็บภาษีเพื่อพัฒนาชาติจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ฐานข้อมูลขาดใหญ่ที่เรียกว่า Big data นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ

นอกจากนี้เรายังมีแบนด์ที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกิดขึ้นจากคนไทยอีกมากที่สร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้เดินหน้าโดยมีส่วนร่วมในการสนับสนุน และสร้างจิตสำนึกให้คนไทยในทุกภาคส่วนให้ความสำคัญมุ่งสร้างสิ่งประดิษฐ์ผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เกิดมากขึ้นจากสมองและฝีมือคนไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญ


นายนนทวัตต์ สาระมาน นายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ ได้กล่าวต่อไปอีกว่าในการสร้างชาติด้วยดิจิทัลนั้นด้วยการให้คนไทยมีคุณภาพ,สร้างภูมิปัญญา,มีคลังข้อมูล
(Big data)อยู่ในประเทศ,สร้างเศรษฐกิจโดยการดึงข้อมูลกลับมาสู่ประเทศเรา,บังคับให้ภาครัฐใช้คลังข้อมูลและ Data center ในประเทศ และที่สำคัญคือสร้างความตะหนักรู้และทักษะในการใช้งานดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแก่ข้าราชการในหน่วยงานองค์กรทุกตำแหน่ง (digital literacy for manpower) และต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเช่นกันและทั้งนี้อันเป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์นั่นเองนายกสมาคมฯกล่าวในท้ายสุด

 

Related posts